เป็นยาเย็น ใช้ได้กับพืชทุกชนิด ทุกช่วงอายุพืช เลี้ยงเชื่อจากห้อง LAB ที่ได้มาตรฐาน สายพันธ์ุแข็งแรงมีประสิทธิภาพดีกว่าเจ้าอื่น มีส่วนผสมของสารจับใบแล้ว สามารถเก็บไว้ได้นานถึง 1 ปี วิธีการใช้ 15 กรัม ผสมน้ำได้ 15 ลิตร ใช้ฉีดพ่น 500 กรัม ผสมน้ำได้ 500 ลิตร ฉีดได้ 6.25 ไร่ คลุกเมล็ดก่อนปลูก 20 กรัมต่อเมล็ด 2kg. 20 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตรแช่ท่อนพันธ์ุก่อนปลูก ใช้ 1 ส่วน ต่อดินเพาะกล้า 4 ส่วน รองก้นหลุมก่อนปลูก 1 กิโลกรัม ผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ 50 กิโลกรัม ใช้ได้ก่อนและหลังเกิดโรค ใช้ฉีดพ่นได้ทั้งทางใบ ดิน ลำต้น ใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ เคมี หรือสารกำจัดศัตรูพืชได้ คำแนะนำ ควรเก็บรักษาในที่ร่ม เก็บให้พ้นจากมือเด็ก ราคาสินค้า ราคา 89 […]
วิธีแก้ไขปัญหาโรครากเน่าโคนเน่า!
โรคเน่าคอดินเป็นโรคทุเรียนที่สร้างความเสียหายมากให้กับผู้ที่ปลูกทุเรียนเป็นจำนวนมาก มีอาการเน่าที่โคนต้นจะมีใบด้านสลด และไม่เป็นมัน สีใบเริ่มเหลืองและร่วง กิ่ง หรือที่ผิวเปลือกของต้นทุเรียนคล้ายมีคราบน้ำเกาะติดโดยสภาพที่ต้นทุเรียนจะเกิดจุดฉ่ำน้ำและมีน้ำเยิ้มออกมาเนื้อเยื่อและเปลือกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม และลุกลามจนต้นตายลง สาเหตุของการเกิดโรค เกิดจากเชื้อราไฟทอปทอร่า (Phytophthora palmivora (Buller) Butler) ซึ่งเป็นเชื้อราที่จะอาศัยอยู่ในดิน ซึ่งเชื้อราไฟทอปทอร่าจะเข้าไปทำลายพืชได้อย่างรุนแรง และรวดเร็ว ซึ่งชื่อของไฟทอปทอร่าก็มีความหมายเป็นผู้ทำลาย ซึ่งความเสียหายจากเชื้อราตัวนี้จะมากน้อยแค่ไหนก็จะขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆด้วยเช่นเป็นพื้นที่หรืออยู่ในฤดูที่ฝนตกบ่อย ลมพายุพัดผ่านก็จะเป็นปัจจัยที่ทำให้โรคระบาดได้อย่างรุนแรงนั่นเอง การแพร่ระบาดของโรค พื้นที่เพาะปลูกทุเรียนนั้นมีความสำคัญอย่างมากในการปลูกทุเรียน โดยพื้นที่ที่เหมาะสมกับการแพร่ระบาดจะเป็นบริเวณที่มีฝนตกชุกตลอดเวลาทำให้ดินชื้อและแฉะอยู่ตลอดเวลา มีความชื้นสูง ลมพายุพัดผ่าน ทำให้การแพร่ระบาดของโรคนี้เกิดขึ้นได้ง่ายและรวดเร็วเป็นวงกว้าง และนอกจากนี้สปอร์ซึ่งเป็นส่วนขยายพันธุ์ของโรคนี้ยังมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งได้ดีอีกด้วย วิธีป้องกันการเกิดโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียนสำหรับผู้ที่เริ่มปลูกทุเรียน เริ่มจากการปรับสภาพดินบริเวณหลุมที่จะปลูกด้วนปูนขาว จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ รองก้นหลุมที่จะปลูกด้วยเชื้อราไตรโคโดรม่า หลังจากปลูกต้นทุเรียนลงในหลุมให้โรยเชื้อจุลินทรีย์ผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกและรำข้าวในอัตรา ( 1 : 50 – 100 : 4 กก. ) วิธีป้องกันกำจัดเมื่อเกิดโรครากเน่าโคนเน่าขึ้นแล้ว เริ่มจากให้ทำการขูดผิวเปลือกบริเวณที่เป็นโรคออกแล้วทาแผลด้วยปูนแดงหรือสารป้องกันโรคพืช ทาแผลด้วยปูนแดงหรือสารป้องกันกำจัดเชื้อราและโรคพืช หากมีอาการรุนแรงที่ลำต้นหรือกิ่งใหญ่ ใช้ฟอสฟอรัส 40% ฉีดที่ลำต้นส่วนที่เป็นเนื้อไม้ดี ใกล้บริเวณที่เป็นโรค/หรือฉีดเข้าลำต้นเหนือระดับดิน หว่านจุลินทรีย์ไตรโคเดอร์ม่าไว้รอบโคน ผสม ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก และรำข้าว ในอัตรา ( 1 : […]
ตัวแทนจำหน่าย อาชีพยอดฮิตเสริมสร้างรายได้!
ในปัจจุบันที่ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น แต่รายได้ที่เรามีนั้นยังเท่าเดิมทำให้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายของคนในยุคปัจจุบัน ทำให้หลายๆคนเลือกที่จะออกมาหารายได้เสริมกันมากมายไม่ว่าจะหางานพาร์ทไทม์ รับจ้างพิเศษ ปลูกผักขาย ขายอาหาร ขับรถส่งอาหาร แต่อาชีพเสริมที่เป็นที่นิยมที่สุดในขณะนี้หรือบางคนเลือกทำเป็นงานประจำก็คือการ “ขายสินค้าออนไลน์ ” ซึ่งแต่ละงานก็เป็นงานที่ส่งผลดีในการเพิ่มรายได้ทั้งหมด แต่ยังมีอีกช่องทางนึงที่จะสามารถทำให้คนที่สนใจอยาก “ขายสินค้าออนไลน์” สามารถขายสินค้าได้โดยใช้เงินลงทุนเพียงไม่กี่บาท ไม่ต้องสต๊อกสินค้า ไม่ต้องแพ็คสินค้าและจัดส่งด้วยตัวเอง ช่วยอำนวยความสะดวกให้อย่างมาก นั่นก็คือการเป็น “ ตัวแทนจำหน่าย” ซึ่งเราสามารถเลือกรูปแบบการเป็นตัวแทนจำหน่ายได้ว่าจะสต๊อกสินค้าไปขายสำหรับคนมีหน้าร้านหรือจะเลือกไม่สต๊อกสินค้าแต่จะส่งออเดอร์มาให้บริษัททางบริษัทก็จะทำการจัดส่งสินค้าให้ โดยตัวแทนก็จะได้รับกำไรไปเต็มๆในทุกๆออเดอร์ อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นถึงตัวแทนจำหน่ายที่มี 2 ประเภทให้เลือกตามความสะดวกของแต่ละคน ตัวแทนจำหน่ายแบบสตีอกสินค้า เป็นตัวแทนประเภทที่มีสินค้าอยู่ในมือจากการซื้อสินค้าราคาต้นทุนกับบริษัทมาสต๊อกไว้ที่หน้าร้านของตนเองเพื่อขาย เป็นการซื้อขาดโดยตัวแทนจำต้องซื้อสินค้าขั้นต่ำตามที่บริษัทกำหนด และนำสินค้านั้นไปขายโดยบวกกำไรจากการขายปลีก ข้อดี สะดวกในการขายมีสินค้าให้ลูกค้าทันที ได้กำไรที่เยอะเนื่องจากได้สินค้ามาในราคาต้นทุน มีส่วนลดเยอะกว่า เนื่องจากซื้อคราวละเยอะๆ ข้อเสีย ต้องใช้ต้นทุนในการสต๊อกสูง ต้องมีสถานที่สต๊อกสินค้า ต้องแพ็คส่งสินค้าเองกรณีต้องส่งสินค้าให้ลูกค้า มีความเสี่ยงที่สินค้าจะขายไม่ออก ตัวแทนจำหน่ายแบบไม่สต๊อกสินค้า เป็นตัวแทนที่ไม่ได้มีสินค้าอยู่ในมือ มีหน้าที่ทำการโพสขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ และนำออเดอร์ที่ได้ พร้อมโอนค่าสินค้า ( ราคาต้นทุน+ค่าส่ง ) ให้บริษัทเพื่อที่บริษัทจะได้ทำการแพ็คสินค้าและส่งให้ลูกค้าในนามตัวแทนจำหน่าย ข้อดี ใช้ต้นทุนน้อยไม่มีต้นทุนในการสต๊อก ไม่ต้องแพ็คส่งสินค้าเอง ความเสี่ยงในการขายน้อย ข้อเสีย กำไรในการขายแต่ละชิ้นไม่สูงเท่าแบบสต๊อกสินค้า ต้องใช้เวลาในการส่งสินค้าให้ลูกค้า ซึ่งตัวแทนแต่ละประเภทก็จะมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไปแต่ความเสี่ยงก็น้อยกว่าการลงทุนเป็นเจ้าของกิจการด้วยตัวเอง ด้วยทั้งหมดที่กล่าวมานี้ทำให้ […]
โรคเชื้อราพืชฤดูฝน EP.2
เชื้อราในพืช ถือว่าเป็นสา เหตุหลักของการเกิดโรคในพืชที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นโรคที่สามารถสร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรได้ค่อนข้างมาก เนื่องจากการระบาดมักมาพร้อมกับดิน ลม ฝน น้ำ และวัชพืชอยู่ตลอดทั้งปี เป็นโรคที่พืชเเสดงอาการผิดปกติออกมา โดยบริเวณพืชที่เกิดโรคหรือแสดงอาการของโรค มักจะมีสัญลักษณ์ของเชื้อรา เช่น เส้นใย สปอร์ เกิดขึ้น เป็นโรคที่สร้างผลกระทบและความเสียหายให้กับเกษตรกรได้ในวงกว้าง จากคราวที่แล้วเรามาดูกันต่อดีกว่าว่าโรคเชื้อราพืชที่เกิดในฤดูฝนจนทำให้เกษตรกรหลายคนกลุ้มใจยังมีโรคอะไรอีกบ้าง โรคขอบใบแห้ง เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซานโทโมนาส ( Xanthomonas oryzae pv. oryzae (ex Ishiyama) Swings et al ) พบมากในนาน้ำฝน อาการโรคนี้เป็นได้ตั้งแต่ระยะต้นกล้าจะมีจุดช้ำเล็กๆที่ขอบใบของใบล่าง และจะขายากลายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบข้าว ใบที่เป็นโรคจะแห้งเร็ว ส่วนสีเขียวจะจางลงเป็นสีเทา จนกระทั่งใบที่ขอบมีรอยขีดช้ำและเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เป็นโรคที่สามารถระบาดต่อได้ทางน้ำ และสภาพที่มีฝนตก โรคราดำ เกิดจากเชื้อราหลายๆชนิด เชื้อราหลายชนิด ที่พบบ่อยๆ เช่น เชื้อรา แคปโนเดี่ยม ( Capnodium sp. และ Meliola sp. ) จะทำให้พืชผักของเรา มีลักษณะเป็นผงสีดำขึ้นปกคลุมส่วนต่างๆของพืช เช่น กิ่ง ช่อดอก ดอก […]
โรคเชื้อราพืชฤดูฝน EP.1
เชื้อราในพืช ถือว่าเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคในพืชที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นโรคที่สามารถสร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรได้ค่อนข้างมาก เนื่องจากการระบาดมักมาพร้อมกับดิน ลม ฝน น้ำ และวัชพืชอยู่ตลอดทั้งปี เป็นโรคที่พืชเเสดงอาการผิดปกติออกมา โดยบริเวณพืชที่เกิดโรคหรือแสดงอาการของโรค มักจะมีสัญลักษณ์ของเชื้อรา เช่น เส้นใย สปอร์ เกิดขึ้น เป็นโรคที่สร้างผลกระทบและความเสียหายให้กับเกษตรกรได้ในวงกว้าง เรามาดูกันดีกว่าว่าโรคเชื้อราพืชที่เกิดในฤดูฝนจนทำให้เกษตรกรหลายคนกลุ้มใจมีอะไรบ้าง โรคเน่าคอดิน เป็นโรคที่ เกิดจากเชื้อราพิเทียม (Pythium) และเชื้อรา ไรซอกโทเนีย (Rhizoctonia) ที่ติดมากับเมล็ด หรือในดินที่ปลูก ซึ่งเกิดเฉพาะในแปลงต้นกล้า โดยอาการของโรคจะเป็นแผลที่โคนต้นระดับดิน แผลมีความเน่าแห้งตายได้ในเวลาอันรวดเร็ว เป็นโรคที่อันตรายต่อน้องๆพืชผักที่เราปลูกค่อนข้างสูง โรคใบจุด เป็นโรคที่ เกิดจากเชื้อรา ( Phyllostictina pyriformis ) ในต้นกล้าจะพบจุดแผลเล็กๆ สีน้ำตาลบริเวณใบโคนต้น และมีแผลเป็นวงกลมสีน้ำตาลซ้อนกันตรงใบสำหรับต้นที่โตแล้ว เนื้อเยื่อรอบๆแผลจะเป็นสีเหลืองและมักมีเชื้อราสีดำๆอยู่บนแผล ซึ่งหากไม่รีบทำลายต้นที่ติดเชื้อทิ้งสปอร์ของเชื้อที่ปลิวไปตามน้ำ ลม แมลง จะไปติดต้นอื่นทำให้ต้นอื่นติดเชื้อได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อน้องๆพืชผักของเราอย่างมาก โรคราสนิมขาวในผัก เป็นอีกหนึ่งโรคที่เกิดจากเชื้อรา อัลบูโก ( Albugo ipomoea-aquaticae Sawada ) อาการของน้องพืชผัก จะเริ่มจากการเกิดเป็นตุ่มเล็กๆ โป่งพองนูนจากผิวปกติก่อน ต่อมาชั้นของเซลล์ epidermis ตรงจุดดังกล่าวจะเปิดแตกออกเกิดเป็นแผลลักษณะเป็นผงหรือกระจุกสีขาวคล้ายแป้งหรือฝุ่นชอล์ก […]
ศัตรูพืชในลำไย สาเหตุ โรคพืชลำไย ลำไยใบไหม้ ลำไยผลร่วง ราในลำไย
ลำไยผลไม้เศรษฐกิจของประเทศไทย รสชาติหวานอร่อย ปลูกในพื้นที่ร้อนและกึ่งร้อน แต่กว่าที่ลำไยจะเจริญเติบโตออกผลมาให้ได้รับประทานนั้น ลำไยต้องผ่านการเจริญเติบโตผ่านแต่ระยะช่วง ผ่านโรคพืชและศัตรูพืชต่างๆ ศัตรูพืชในลำไยที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ มีดังนี้ มวนลำไย มวนลำไย หรือที่ทางภาคเหนือเรียก “แมงแคง” ทำความเสียหายให้กับลำไยโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอก และผลอ่อนทำให้ยอดอ่อนและใบอ่อนแห้งเหี่ยว ดอกเสียหาย ไม่ติดผลหรือทำให้ร่วงหล่นตั้งแต่ยังเล็ก เพลี้ยหอยและเพลี้ยแป้ง สร้างความเสียหายให้ผลผลิตลำไยโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบยอดอ่อน ช่อดอก และผลลำไย หาเกิดระบาดรุนแรงจะทำให้บริเวณที่ถูกทำลายเหี่ยวแห้งไปในที่สุด นอกจากนี้ เพลี้ยทั้งสองชนิดนี้ยังขับของเหลวชนิดหนึ่งออกมา ซึ่งจะเป็นอาหารของมด และเป็นแหล่งอาหารของราดำทำให้ผลดูสกปรกไม่น่ากิน ราคาผลผลิตก็จะตกต่ำไปด้วย หนอนม้วนใบ กัดกินใบอ่อนและช่อดอก ตัวหนอนจะห่อม้วนใบเข้าหากันหรือชักใยดึงเอาหลายๆ ใบ มารวมกันหรือดึงเอาช่อดอกเข้ามารวมกันแล้วอาศัยอยู่ภายในถ้าระบาดมากทำให้ยอดอ่อนและช่อดอกเกิดเสียหาย หนอนคืบกินใบ หนอนชนิดนี้ระบาดอยู่ทั่วไปตามแหล่งปลูกลำไยและลิ้นจี่ พบมากในบางแห่ง โดยเฉพาะระยะที่ลำไยแตกยอดอ่อน ทำลายโดยกัดกินใบอ่อนให้เสียหายทำให้ยอดชะงักการเจริญเติบโต หนอนกินดอกลำไย ตัวหนอนจะกัดกินดอกลำไย โดยใช้ขี้หนอนและใยทำเป็นทางสีน้ำตาลไปตามกิ่งหรือช่อดอก ตัวหนอนกินไปถึงทางไหนจะมีทางไปถึงตรงนั้น ใช้เป็นที่สังเกต หนอนจะทำลายดอกจนหมด แมลงค่อมทอง ทำลายโดยกัดกินใบอ่อนและดอก ทำให้ใบเสียหายและชะงักการเจริญเติบโต ดอกไม่เจริญ มักพบมากในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม และจะลดน้อยลงเองตามธรรมชาติในเดือนเมษายน และพบน้อยมากระหว่างฤดูฝน ผีเสื้อมวนหวาน เป็นผีเสื้อกลางคืนที่มีขนาดใหญ่บินเร็วตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำหวานจากผลไม้ทุกชนิด ทำให้ผลไม้เกิดความเสียหายและหลุดร่วง พบระบาดในระยะที่ลำไยเริ่มแก่และใกล้เก็บเกี่ยว ทำลายผลโดยการใช้ส่วนของปากเจาะแทงเข้าไปในผลไม้ที่ใกล้สุกหรือผลไม้สุก ทำให้ผลแก่และร่วงในที่สุด หนอนเจาะกิ่งและลำต้น เกิดจากผีเสื้อที่วางไข่ตามเปลือกของกิ่งแล้วฟักออกมาเป็นตัวหนอนเข้าเจาะกินกิ่งหรือลำต้น จะทำให้กิ่งหรือลำต้นแห้งตาย […]
โรคในมะม่วงที่พ่วงมากับเชื้อรา
มะม่วงอาจเป็นพืชที่สามารถทนกับโรคพืชต่างๆได้หลายชนิด ทนทานต่อสภาพอากาศ แต่ยังมีโรคต่างๆที่สามารถทำลายผลผลิตและคุณภาพของมะม่วงได้ โรคราดำ ลักษณะเป็นผงสีดำขึ้นปกคลุมส่วนต่างๆของพืช เช่น กิ่ง ช่อดอก ดอก และผล ซึ่งมักพบบริเวณขั้วผล เชื้อราดำส่วนใหญ่ไม่ได้ทำลายเนื้อเยื่อของพืชโดยตรง แต่ราดำบนใบจะบดบังการได้รับแสงของใบ ส่งผบกระทบต่อการการสังเคราะห์แสงและการสร้างอาหารของใบ และเป็นปัญหาต่อการผสมเกสรของดอก ทำให้มะม่วงไม่ติดผล ส่วนคราบราดำที่เกาะผลทำให้ผลไม่สวยและราคาผลผลิตถูกลง โรคราแป้ง ลักษณะคล้ายผงแป้งสีขาวขึ้นปกคลุมส่วนต่างๆของมะม่วง หากเชื้อราเข้าทำลายระยะดอกช่อดอกจะแห้งและดอกร่วง ส่วนในระยะผลอ่อนพบบริเวณ ก้านผลจะถูกทำลาย ส่งผลให้ผลอ่อนร่วงเกือบหมด หรือร่วงหมดทั้งช่อ บางครั้งเชื้อราลุกลามไปขึ้นปกคลุมบริเวณผล ทำให้ผลมะม่วงผิวตกกระเป็นคราบสีเทาหรือสีน้ำตาล โรคยางไหลกิ่งแห้ง บริเวณลำต้นและกิ่งบางสายพันธุ์ มีจุดน้ำยางสีน้ำตาลแตกไหลเยิ้มออกมาจากผิว และไหลลงส่วนล่างของลำต้น เนื้อเยื่อจะเป็นรอยโค้งเว้า น้ำยางข้นสีขาวเมื่อเข้าทำลายยอดมะม่วง จะทำให้ยอดเหี่ยวแห้งตาย บริเวณเปลือกที่แห้งตายจะมีสีคล้ำ โรคแอนแทรคโนส มีจุดสีน้ำตาลเข้มขนาดเล็ก จำนวนมาก แผลที่ใกล้กันอาจลุกลามติดกัน อาจจะทำให้กิ่งมะม่วงไหม้แห้งเป็นสีน้ำตาลเข้มตั้งแต่ปลายยอดจนถึงด้านล่าง ช่อดอกจะเห็นเป็นจุดสีน้ำตาลเข้มขนาดเล็ก หากมีการระบาดรุนแรงช่อดอกอาจแสดงอาการไหม้ดำเสียหาย ทั้งช่อ ส่วนอาการบนผลอ่อนจะปรากฏแผลสีน้ำตาลเข้มขนาดเล็กบนผล จะเห็นได้ชัดเจนเมื่อผลใกล้สุก แผลจะขยายใหญ่ขึ้นมีสีน้ำตาลเข้มหรือดำ โรคใบจุดสนิม ลักษณะเป็นจุดเล็กๆ สีเขียวปนเทา จะขยายใหญ่ขึ้นและเปลี่ยนเป็นสีคล้ายสนิม ซึ่งเป็นระยะที่เชื้อเหล่านี้สร้างอวัยวะขยายพันธุ์ และสามารถแพร่ระบาดไปยังใบอื่นได้ เนื่องจากเชื้อต้องการแสงแดดและความชื้นสูง จึงมักจะเกิดบนใบหรือกิ่งที่ได้รับแสงแดดเสมอ กำจัดเชื้อราสาเหตุในโรคพืชด้วยซันไตรโคร เชื้อคุณภาพสูงและแรงที่สุด . ราคา 189 บาท ขนาด […]
โรคในทุเรียนที่สาเหตุเกิดจากเชื้อรา
โรคไฟทอปธอร่า ลักษณะโรคนี้แสดงออกมาได้หลายอย่าง เช่น รากเน่า โคนเน่า ใบเหลือง ใบแห้ง และร่วงสามารถทำความเสียหายได้ ตั้งแต่ผลทุเรียนไม่สมบูรณ์ ไปจนถึงทำให้ทุเรียนเสียหายทั้งต้นอาจต้องโค่นต้นทิ้ง แต่เมื่อโค่นทุเรียนต้นเดิม แล้วปลูกต้นใหม่ในพื้นที่เดิม ตัวเชื้ออาจจะยังอยู่ โรคแอนแทรคโนส เริ่มจากจุดแห้งเล็กๆ สีน้ำตาลแล้วค่อยๆ เข้มขึ้นขยายออกเป็นวงกลมหรือวงรีซ้อนกันอาการของโรคจะเห็นชัดเจนในระยะที่ผลเริ่มสุกและมีความชื้นสูง เมื่อเกิดกับใบอ่อนทําให้ใบหงิกงอ เริ่มจากจุดสีเทาและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม เนื้อเยื่อกลางแผลบางและฉีกขาดเป็นรูโรคแอนแทรคโนสยังสามารถเข้าทําลายกิ่ง ทําให้เกิดอาการไหม้อีกด้วย โรคใบติด ใบที่เป็นโรคจะมีจุดรูปร่างไม่แน่นอน แผลจะขยายใหญ่คล้ายน้ำร้อนลวก เป็นสีน้ำตาลอ่อนและจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อใบแก่ขึ้น อาการไหม้อาจจะเกิดที่บริเวณขอบใบด้านปลายใบกลางใบหรือทั้งใบ ใบที่ถูกเชื้อราทำลายจะมีเส้นใยสีน้ำตาลอ่อนยึดติดอยู่ และเส้นใยของเชื้อราจะลุกลามทำลายใบและกิ่งที่อยู่ติดกัน ราสีชมพูโรค ต้นทุเรียนที่เป็นโรคราสีชมพูจะมีอาการใบเหลืองร่วง คล้ายกับอาการกิ่งแห้งโดยเชื้อราจะเข้าทำลายง่ามกิ่ง และโคนกิ่งทุเรียน ด้วยการสร้างเส้นใยสีขาวอมชมพูปกคลุมผิวกิ่งแล้วแผ่ขยายไปตามกิ่งและลำต้น ถ้าเกิดรอบกิ่งจะทำให้กิ่งทุเรียนแห้งตาย และเมื่อราอายุมากเส้นใยจะเปลี่ยนเป็นสีครีมไปจนถึงสีชมพูอ่อน ทำให้กิ่งทุเรียนปริแตก และล่อนจากเนื้อไม้ส่วนยอดทุเรียนที่ถูกทำลายจะแสดงอาการใบเหลืองแห้งตายเป็นกิ่ง ๆ ราดำโรค บริเวณที่ติดโรคจะมีเส้นใยเชื้อราสีดำเกิดเป็นจุดๆ กระจายไปทั่วใบและผลทุเรียนหรือเกิดเป็นรอยดำ ราดำไม่ได้เข้าทำลายเนื้อเยื่อผลทุเรียน และ ใบ แต่จะปกคลุมที่ส่วนผิวนอกส่งผลให้การสังเคราะห์แสงลดลง ทำให้พืชไม่สามารถสร้างอาหารได้ โรคราแป้ง เชื้อราสีขาวมีลักษณะคล้ายแป้งปกคลุมเปลือกทุเรียน เชื้อสามารถเข้าทำลายผลได้ตั้งแต่เริ่มติดผลอ่อนจนกระทั่งผลแก่่ซึ่งการเข้าทำลายของเชื้อในระยะติดผลใหม่ๆอาจจะทำให้ผลอ่อนนั้นร่วง หรือถ้าเป็นกับผลที่กำลังเจริญเติบโตก็จะทำให้สีผิวทุเรียนผิดปกติ ลักษณะไม่สวย โรคผลเน่า บริเวณก้นผลมักพบจุดช้ำสีน้ำตาลเทา ต่อมาขยายเป็นวงกลมหรือวงรี ไปตามรูปร่างผลอาจพบได้ตั้งแต่ผลยังคงอยู่บนต้น แต่ส่วนใหญ่มักพบเกิดกับผลในช่วง ประมาณ 1 เดือนก่อนเก็บเกี่ยวจนกระทั่งเก็บเกี่ยว และในระหว่างบ่มผลรอสุก […]
7 เชื้อราก่อปัญหาในโรคพืช เชื้อราสาเหตุในโรคพืช
ผลิตจากห้องแล็บมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ได้เชื้อที่สดใหม่ เพาะและเลี้ยงเชื้อที่คุณภาพสูงที่สุดและเชื้อมากที่สุด เพาะเชื้อด้วยวิธีที่ถูกต้อง ให้ได้เชื้อที่มีคุณภาพสูงสุด เก็บและเลี้ยงเชื้อในอุณหภูมิและแสงที่เหมาะสม ให้สารอาหารเลี้ยงเชื้อมากกว่า8เท่า—————✪ ช่องทางสอบถาม/สั่งซื้อสินค้า ✪ ข้อความ : https://dlink.me/FQnO6 ไลน์ : @ifklab (มี @ ด้วยนะคะ) https://line.me/ti/p/~@ifklabShopee : https://shorturl.asia/hBz3a✆ โทร : 065-529-9099www.iFKlab.com.ผลิตและจัดจำหน่ายโดยบริษัท ไอเอฟเคแล็บ จำกัด (LAB มาตรฐาน ISO/IEC 17025)
โรคมะเขือเทศที่สาเหตุมาจากเชื้อรา โรคในมะเขือเทศ
โรคใบจุด โรคแห้งดำ โรคใบไหม้ โรคราแป้ง โรคราเขม่า.กำจัดเชื้อราสาเหตุในโรคพืชในมะเขือเทศด้วยซันไตรโคร ด้วยเชื้อคุณภาพสูงที่สุด.ราคา 189 บาท ขนาด 100 กรัมราคา 349 บาท ขนาด 500กรัม.การสั่งสินค้าและชำระเงิน โอนชำระเงินทางบัญชีธนาคาร บริการเก็บเงินปลายทาง ไม่บวกเพิ่มสามารถ แจ้งที่อยู่ เบอร์โทร และจำนวนที่ต้องการ ได้ท้้งทาง คอมเมนต์ และ อินบ็อกซ์ข้อความfacebookเลยค่ะ. ผลิตจากห้องแล็บมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ได้เชื้อที่สดใหม่ เพาะและเลี้ยงเชื้อที่คุณภาพสูงที่สุดและเชื้อมากที่สุด เพาะเชื้อด้วยวิธีที่ถูกต้อง ให้ได้เชื้อที่มีคุณภาพสูงสุด เก็บและเลี้ยงเชื้อในอุณหภูมิและแสงที่เหมาะสม ให้สารอาหารเลี้ยงเชื้อมากกว่า8เท่า—————✪ ช่องทางสอบถาม/สั่งซื้อสินค้า ✪ ข้อความ : https://dlink.me/FQnO6 ไลน์ : @ifklab (มี @ ด้วยนะคะ) https://line.me/ti/p/~@ifklabShopee : https://shorturl.asia/hBz3a✆ โทร : 065-529-9099www.iFKlab.com.ผลิตและจัดจำหน่ายโดยบริษัท ไอเอฟเคแล็บ จำกัด (LAB มาตรฐาน ISO/IEC 17025)