ข้าวโพดที่เรารับประทานกันนั้น ไม่ว่าจะเป็นข้าวโพดหวานข้าวโพดข้าวเหนียว ที่รสชาติอาจต่างกันออกไป แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ การเจริญเติบโตที่ต้องผ่านการดูแลที่ต้องดีเหมือนกัน ทั้งดูแลจากแมลง และโรคพืชต่างๆ ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักโรคในข้าวโพด รวมไปถึงลักษณะของโรคนั้นๆกัน โรคใบจุด โรคใบจุดมักเกิดในช่วงฤดูแล้ง สามารถเข้าทำลายข้าวโพดได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตในทุกๆส่วนของข้าวโพด โดยอาการใบจะเป็นจุดสีเหลืองถึงสีน้ำตาลเข้ม ขนาดเล็ก มีวงสีเหลืองรอบๆ เมื่อมีอาการหนักอาจทำให้ใบไหม้ได้ โรคใบจุดสีน้ำตาล สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในบริเวณเส้นกลางใบ ลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลเข้ม หลังจากเชื้อเข้าทำลายจะทำให้ใบหัก หรือ เกิดเป็นแผลบนใบเป็นสีน้ำตาลเข้ม จุดติดๆกันอาจทำให้ใบไหม้ นอกจากนี้อาจเห็นที่ลำต้น กาบใบ เปลือกหุ้มฝัก และช่อดอก อาการจะยิ่งหนักในช่วงออกดอก ทำให้ผลผลิตน้อยลง โรคราสนิม สร้างความเสียหายต่อผลผลิตข้าวโพดที่ปลูกอย่างต่อเนื่อง จะทำลายข้าวโพดในระยะออกดอก ระบาดรุนแรงในช่วงปลายฝน ลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลแดง ค่อนข้างกลม นูนจากผิว เมื่อโตเต็มที่กลางแผลจะปริออก และเป็นสีน้ำตาลส้มคล้ายสนิม ใบข้าวโพดที่เกิดแผลมากขึ้นจะเหลืองและแห้งในที่สุด โรคราน้ำค้าง ลักษณะอาการเป็นแถบยาวสีเหลืองไปตามความยาวของใบ หรือเป็นทางลายสีเขียวแก่ เขียวอ่อน สีเหลือง สลับเป็นทางยาว เมื่ออาการหนักรอยจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลจนเกิดอาการใบไหม้ แห้งตายในที่สุด โดยสามารถเกิดกับข้าวโพดตั้งแต่งอกจนถึงอายุประมาณ1เดือน ในช่วงที่มีฝนตกชุก โรคลำต้นเน่า แบ่งเป็น 2 ลักษณะ – ทำลายทั้งต้นอ่อน ต้นแก่ และฝัก จะเห็นเส้นใยสีขาวเน่าไปทั้งฝัก ที่ลำต้นหลังเชื้อเข้าทำลาย ต้นจะเหี่ยว […]
ศัตรูพืช แมลงปากกัดและปากดูด ทำลายผลผลิตการเกษตร
ชีวภัณฑ์กำจัดแมลง เชื้อแรงที่สุด เชื้อสูงกว่า 8 เท่า ผลิตจากห้องแล็บมาตรฐาน . แมลง อีก 1 ปัญหาของชาวเกษตรกรหลายคนในการการปลูกพืช แมลงหลายชนิดสร้างความเสียหายต่อผลผลิตเป็นอย่างมาก ทั้งการเจริญเติบโตและคุณภาพของพืช แมลงจะแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ . 1. แมลงปากกัด ได้แก่ หนอนกระทู้ใบผัก ตั๊กแตน ด้วงปีกแข็ง ด้วงหมัดผัก แมลงค่อมทอง คืบ ด้วงเต่าแตง เป็นต้น สามารถกัดกินใบได้ทั้งหมด หรือ เหลือเส้นใบทิ้งไว้ ทำให้ใบแหว่ง ขาด เหลือแต่ก้านหรือเส้นใบ ส่งผลให้พืชขาดส่วนที่ใช้สังเคราะห์แสง ขาดที่กักเก็บอาหาร และขาดยอดอ่อนที่เป็นส่วนสำหรับการเจริญเติบโต . 2. แมลงปากดูด ได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดด เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น แมลงหวี่ขาว ไรแดง เป็นต้น สามารถแทงและดูดน้ำเลี้ยงจากใบ ยอดอ่อน กิ่ง ลำต้น ดอก และ ผล ส่งผลให้ ส่วนต่างๆของพืชเกิดรอยไหม้ ใบม้วนเหี่ยว ไม่เจริญเติบโต […]
ศัตรูพืชในลำไย สาเหตุ โรคพืชลำไย ลำไยใบไหม้ ลำไยผลร่วง ราในลำไย
ลำไยผลไม้เศรษฐกิจของประเทศไทย รสชาติหวานอร่อย ปลูกในพื้นที่ร้อนและกึ่งร้อน แต่กว่าที่ลำไยจะเจริญเติบโตออกผลมาให้ได้รับประทานนั้น ลำไยต้องผ่านการเจริญเติบโตผ่านแต่ระยะช่วง ผ่านโรคพืชและศัตรูพืชต่างๆ ศัตรูพืชในลำไยที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ มีดังนี้ มวนลำไย มวนลำไย หรือที่ทางภาคเหนือเรียก “แมงแคง” ทำความเสียหายให้กับลำไยโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอก และผลอ่อนทำให้ยอดอ่อนและใบอ่อนแห้งเหี่ยว ดอกเสียหาย ไม่ติดผลหรือทำให้ร่วงหล่นตั้งแต่ยังเล็ก เพลี้ยหอยและเพลี้ยแป้ง สร้างความเสียหายให้ผลผลิตลำไยโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบยอดอ่อน ช่อดอก และผลลำไย หาเกิดระบาดรุนแรงจะทำให้บริเวณที่ถูกทำลายเหี่ยวแห้งไปในที่สุด นอกจากนี้ เพลี้ยทั้งสองชนิดนี้ยังขับของเหลวชนิดหนึ่งออกมา ซึ่งจะเป็นอาหารของมด และเป็นแหล่งอาหารของราดำทำให้ผลดูสกปรกไม่น่ากิน ราคาผลผลิตก็จะตกต่ำไปด้วย หนอนม้วนใบ กัดกินใบอ่อนและช่อดอก ตัวหนอนจะห่อม้วนใบเข้าหากันหรือชักใยดึงเอาหลายๆ ใบ มารวมกันหรือดึงเอาช่อดอกเข้ามารวมกันแล้วอาศัยอยู่ภายในถ้าระบาดมากทำให้ยอดอ่อนและช่อดอกเกิดเสียหาย หนอนคืบกินใบ หนอนชนิดนี้ระบาดอยู่ทั่วไปตามแหล่งปลูกลำไยและลิ้นจี่ พบมากในบางแห่ง โดยเฉพาะระยะที่ลำไยแตกยอดอ่อน ทำลายโดยกัดกินใบอ่อนให้เสียหายทำให้ยอดชะงักการเจริญเติบโต หนอนกินดอกลำไย ตัวหนอนจะกัดกินดอกลำไย โดยใช้ขี้หนอนและใยทำเป็นทางสีน้ำตาลไปตามกิ่งหรือช่อดอก ตัวหนอนกินไปถึงทางไหนจะมีทางไปถึงตรงนั้น ใช้เป็นที่สังเกต หนอนจะทำลายดอกจนหมด แมลงค่อมทอง ทำลายโดยกัดกินใบอ่อนและดอก ทำให้ใบเสียหายและชะงักการเจริญเติบโต ดอกไม่เจริญ มักพบมากในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม และจะลดน้อยลงเองตามธรรมชาติในเดือนเมษายน และพบน้อยมากระหว่างฤดูฝน ผีเสื้อมวนหวาน เป็นผีเสื้อกลางคืนที่มีขนาดใหญ่บินเร็วตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำหวานจากผลไม้ทุกชนิด ทำให้ผลไม้เกิดความเสียหายและหลุดร่วง พบระบาดในระยะที่ลำไยเริ่มแก่และใกล้เก็บเกี่ยว ทำลายผลโดยการใช้ส่วนของปากเจาะแทงเข้าไปในผลไม้ที่ใกล้สุกหรือผลไม้สุก ทำให้ผลแก่และร่วงในที่สุด หนอนเจาะกิ่งและลำต้น เกิดจากผีเสื้อที่วางไข่ตามเปลือกของกิ่งแล้วฟักออกมาเป็นตัวหนอนเข้าเจาะกินกิ่งหรือลำต้น จะทำให้กิ่งหรือลำต้นแห้งตาย […]
โรคในมะม่วงที่พ่วงมากับเชื้อรา
มะม่วงอาจเป็นพืชที่สามารถทนกับโรคพืชต่างๆได้หลายชนิด ทนทานต่อสภาพอากาศ แต่ยังมีโรคต่างๆที่สามารถทำลายผลผลิตและคุณภาพของมะม่วงได้ โรคราดำ ลักษณะเป็นผงสีดำขึ้นปกคลุมส่วนต่างๆของพืช เช่น กิ่ง ช่อดอก ดอก และผล ซึ่งมักพบบริเวณขั้วผล เชื้อราดำส่วนใหญ่ไม่ได้ทำลายเนื้อเยื่อของพืชโดยตรง แต่ราดำบนใบจะบดบังการได้รับแสงของใบ ส่งผบกระทบต่อการการสังเคราะห์แสงและการสร้างอาหารของใบ และเป็นปัญหาต่อการผสมเกสรของดอก ทำให้มะม่วงไม่ติดผล ส่วนคราบราดำที่เกาะผลทำให้ผลไม่สวยและราคาผลผลิตถูกลง โรคราแป้ง ลักษณะคล้ายผงแป้งสีขาวขึ้นปกคลุมส่วนต่างๆของมะม่วง หากเชื้อราเข้าทำลายระยะดอกช่อดอกจะแห้งและดอกร่วง ส่วนในระยะผลอ่อนพบบริเวณ ก้านผลจะถูกทำลาย ส่งผลให้ผลอ่อนร่วงเกือบหมด หรือร่วงหมดทั้งช่อ บางครั้งเชื้อราลุกลามไปขึ้นปกคลุมบริเวณผล ทำให้ผลมะม่วงผิวตกกระเป็นคราบสีเทาหรือสีน้ำตาล โรคยางไหลกิ่งแห้ง บริเวณลำต้นและกิ่งบางสายพันธุ์ มีจุดน้ำยางสีน้ำตาลแตกไหลเยิ้มออกมาจากผิว และไหลลงส่วนล่างของลำต้น เนื้อเยื่อจะเป็นรอยโค้งเว้า น้ำยางข้นสีขาวเมื่อเข้าทำลายยอดมะม่วง จะทำให้ยอดเหี่ยวแห้งตาย บริเวณเปลือกที่แห้งตายจะมีสีคล้ำ โรคแอนแทรคโนส มีจุดสีน้ำตาลเข้มขนาดเล็ก จำนวนมาก แผลที่ใกล้กันอาจลุกลามติดกัน อาจจะทำให้กิ่งมะม่วงไหม้แห้งเป็นสีน้ำตาลเข้มตั้งแต่ปลายยอดจนถึงด้านล่าง ช่อดอกจะเห็นเป็นจุดสีน้ำตาลเข้มขนาดเล็ก หากมีการระบาดรุนแรงช่อดอกอาจแสดงอาการไหม้ดำเสียหาย ทั้งช่อ ส่วนอาการบนผลอ่อนจะปรากฏแผลสีน้ำตาลเข้มขนาดเล็กบนผล จะเห็นได้ชัดเจนเมื่อผลใกล้สุก แผลจะขยายใหญ่ขึ้นมีสีน้ำตาลเข้มหรือดำ โรคใบจุดสนิม ลักษณะเป็นจุดเล็กๆ สีเขียวปนเทา จะขยายใหญ่ขึ้นและเปลี่ยนเป็นสีคล้ายสนิม ซึ่งเป็นระยะที่เชื้อเหล่านี้สร้างอวัยวะขยายพันธุ์ และสามารถแพร่ระบาดไปยังใบอื่นได้ เนื่องจากเชื้อต้องการแสงแดดและความชื้นสูง จึงมักจะเกิดบนใบหรือกิ่งที่ได้รับแสงแดดเสมอ กำจัดเชื้อราสาเหตุในโรคพืชด้วยซันไตรโคร เชื้อคุณภาพสูงและแรงที่สุด . ราคา 189 บาท ขนาด […]
โรคแอนแทรคโนส(Anthracnose)
โรคแอนแทรคโนส มีสาเหตุจากเชื้อราคอลเลคโตตริกัม (Collectotrichum spp.) สามารถระบาดในอุณหภูมิสูงและชื้น ซึ่งเชื้อจะกระจายได้ทั้งทาง ลม ฝน หรือ แมลง ที่เข้ามาเกาะบริเวณแผล และเชื้อติดไปกับตัวแมลง ทำให้เชื้อระบาดมากขั้น เริ่มจากจุดสีน้ำตาลขนาดเล็กและขยายตัวกว้างขึ้น สีของแผลมีลักษณะเป็นวงคล้ายรอยช้ำ ทําให้เกิดความเสียหายในทุกส่วนของพืช ทั้งผลผลิต ขนาดปริมาณและคุณภาพ กำจัดทุกปัญหาโรคพืชด้วยชีวภัณฑ์อาทิตย์ทรงกลด ด้วยเชื้อคุณภาพสูงแรงมากกว่าเดิมถึง 8 เท่า . โรครากเน่า โรคโคนเน่า โรคเน่าระดับดิน โรคราใบไหม้ โรคใบจุด โรคใบติด โรคใบเหลือง โรคเหี่ยว โรคไฟทอปธอร่า ราสนิม ราน้ำค้าง โรคแอนแทรคโนส ————— #อาทิตย์ทรงกลด #ไตรโคเดอร์มา #รักษาโรคพืช #กำจัดเชื้อรา #กำจัดหนอน #ส่งตรงจากแล็ป #กำจัดแมลง #กำจัดด้วง #กำจัดเพลี้ย #สารจับใบ #เชื้อคุณภาพสูง ————— #โรครากเน่า #โรคโคนเน่า #โรคผลเน่า #โรคใบติดทุเรียน #โรคเหี่ยว #โรคไฟทอปธอร่า #โรคเน่าคอดิน #โรคกิ่งแห้ง #โรคทุเรียนก้านธูป ————— ✪ ช่องทางสอบถาม/สั่งซื้อสินค้า ✪ ข้อความ : https://dlink.me/FQnO6 ไลน์ : @ifklab (มี @ ด้วยนะคะ) https://line.me/ti/p/~@ifklab Shopee : https://shorturl.asia/hBz3a ✆ โทร : 065-529-9099 www.iFKlab.com . […]
โรคในทุเรียนที่สาเหตุเกิดจากเชื้อรา
โรคไฟทอปธอร่า ลักษณะโรคนี้แสดงออกมาได้หลายอย่าง เช่น รากเน่า โคนเน่า ใบเหลือง ใบแห้ง และร่วงสามารถทำความเสียหายได้ ตั้งแต่ผลทุเรียนไม่สมบูรณ์ ไปจนถึงทำให้ทุเรียนเสียหายทั้งต้นอาจต้องโค่นต้นทิ้ง แต่เมื่อโค่นทุเรียนต้นเดิม แล้วปลูกต้นใหม่ในพื้นที่เดิม ตัวเชื้ออาจจะยังอยู่ โรคแอนแทรคโนส เริ่มจากจุดแห้งเล็กๆ สีน้ำตาลแล้วค่อยๆ เข้มขึ้นขยายออกเป็นวงกลมหรือวงรีซ้อนกันอาการของโรคจะเห็นชัดเจนในระยะที่ผลเริ่มสุกและมีความชื้นสูง เมื่อเกิดกับใบอ่อนทําให้ใบหงิกงอ เริ่มจากจุดสีเทาและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม เนื้อเยื่อกลางแผลบางและฉีกขาดเป็นรูโรคแอนแทรคโนสยังสามารถเข้าทําลายกิ่ง ทําให้เกิดอาการไหม้อีกด้วย โรคใบติด ใบที่เป็นโรคจะมีจุดรูปร่างไม่แน่นอน แผลจะขยายใหญ่คล้ายน้ำร้อนลวก เป็นสีน้ำตาลอ่อนและจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อใบแก่ขึ้น อาการไหม้อาจจะเกิดที่บริเวณขอบใบด้านปลายใบกลางใบหรือทั้งใบ ใบที่ถูกเชื้อราทำลายจะมีเส้นใยสีน้ำตาลอ่อนยึดติดอยู่ และเส้นใยของเชื้อราจะลุกลามทำลายใบและกิ่งที่อยู่ติดกัน ราสีชมพูโรค ต้นทุเรียนที่เป็นโรคราสีชมพูจะมีอาการใบเหลืองร่วง คล้ายกับอาการกิ่งแห้งโดยเชื้อราจะเข้าทำลายง่ามกิ่ง และโคนกิ่งทุเรียน ด้วยการสร้างเส้นใยสีขาวอมชมพูปกคลุมผิวกิ่งแล้วแผ่ขยายไปตามกิ่งและลำต้น ถ้าเกิดรอบกิ่งจะทำให้กิ่งทุเรียนแห้งตาย และเมื่อราอายุมากเส้นใยจะเปลี่ยนเป็นสีครีมไปจนถึงสีชมพูอ่อน ทำให้กิ่งทุเรียนปริแตก และล่อนจากเนื้อไม้ส่วนยอดทุเรียนที่ถูกทำลายจะแสดงอาการใบเหลืองแห้งตายเป็นกิ่ง ๆ ราดำโรค บริเวณที่ติดโรคจะมีเส้นใยเชื้อราสีดำเกิดเป็นจุดๆ กระจายไปทั่วใบและผลทุเรียนหรือเกิดเป็นรอยดำ ราดำไม่ได้เข้าทำลายเนื้อเยื่อผลทุเรียน และ ใบ แต่จะปกคลุมที่ส่วนผิวนอกส่งผลให้การสังเคราะห์แสงลดลง ทำให้พืชไม่สามารถสร้างอาหารได้ โรคราแป้ง เชื้อราสีขาวมีลักษณะคล้ายแป้งปกคลุมเปลือกทุเรียน เชื้อสามารถเข้าทำลายผลได้ตั้งแต่เริ่มติดผลอ่อนจนกระทั่งผลแก่่ซึ่งการเข้าทำลายของเชื้อในระยะติดผลใหม่ๆอาจจะทำให้ผลอ่อนนั้นร่วง หรือถ้าเป็นกับผลที่กำลังเจริญเติบโตก็จะทำให้สีผิวทุเรียนผิดปกติ ลักษณะไม่สวย โรคผลเน่า บริเวณก้นผลมักพบจุดช้ำสีน้ำตาลเทา ต่อมาขยายเป็นวงกลมหรือวงรี ไปตามรูปร่างผลอาจพบได้ตั้งแต่ผลยังคงอยู่บนต้น แต่ส่วนใหญ่มักพบเกิดกับผลในช่วง ประมาณ 1 เดือนก่อนเก็บเกี่ยวจนกระทั่งเก็บเกี่ยว และในระหว่างบ่มผลรอสุก […]
❗️หนอนร้ายตายไม่เหลือ เมื่อใช้ซันบีที❗️
ผลิตภัณฑ์กำจัดหนอนทุกชนิดอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเชื้อคุณภาพดีที่สุดและปริมาณมากที่สุด ส่งตรงจากห้องแล็บมาตรฐาน #กำจัดหนอน #กำจัดศัตรูพืช #หนอนใยผัก #หนอนเจาะลำต้น #หนอนคืบละหุ่ง #หนอนผีเสื้อ #หนอนบุ้ง #หนอนกระทู้ผัก #หนอนชอนใบ #หนอนแก้วส้ม #หนอนคืบกะหล่ำ #หนอนด้วง #หนอนเจาะสมอฝ้าย . ราคา 199 บาท ขนาด 100 กรัม ราคา 389 บาท ขนาด 500 กรัม . การสั่งสินค้าและชำระเงิน โอนชำระเงินทางบัญชีธนาคาร บริการเก็บเงินปลายทาง ไม่บวกเพิ่ม สามารถ แจ้งที่อยู่ เบอร์โทร และจำนวนที่ต้องการ ได้ท้้งทาง คอมเมนต์ และ อินบ็อกซ์ข้อความfacebookเลยค่ะ ————— ✪ ช่องทางสอบถาม/สั่งซื้อสินค้า ✪ ข้อความ : https://dlink.me/FQnO6 ไลน์ : @ifklab (มี @ ด้วยนะคะ) https://line.me/ti/p/~@ifklab Shopee : https://shorturl.asia/hBz3a ✆ โทร : 065-529-9099 www.iFKlab.com . ผลิตและจัดจำหน่ายโดย บริษัท ไอเอฟเคแล็บ จำกัด (LAB มาตรฐาน ISO/IEC 17025)
7 เชื้อราก่อปัญหาในโรคพืช เชื้อราสาเหตุในโรคพืช
ผลิตจากห้องแล็บมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ได้เชื้อที่สดใหม่ เพาะและเลี้ยงเชื้อที่คุณภาพสูงที่สุดและเชื้อมากที่สุด เพาะเชื้อด้วยวิธีที่ถูกต้อง ให้ได้เชื้อที่มีคุณภาพสูงสุด เก็บและเลี้ยงเชื้อในอุณหภูมิและแสงที่เหมาะสม ให้สารอาหารเลี้ยงเชื้อมากกว่า8เท่า—————✪ ช่องทางสอบถาม/สั่งซื้อสินค้า ✪ ข้อความ : https://dlink.me/FQnO6 ไลน์ : @ifklab (มี @ ด้วยนะคะ) https://line.me/ti/p/~@ifklabShopee : https://shorturl.asia/hBz3a✆ โทร : 065-529-9099www.iFKlab.com.ผลิตและจัดจำหน่ายโดยบริษัท ไอเอฟเคแล็บ จำกัด (LAB มาตรฐาน ISO/IEC 17025)
ชีวภัณฑ์กำจัดแมลง เชื้อแรงที่สุด เชื้อสูงกว่า 8 เท่า ผลิตจากห้องแล็บมาตรฐาน
เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ไรแดง ไรขาว ปลวก แมลงหวี่ขาว แมลงค่อมทอง แมลงสิง แมลงเหล่า ด้วงหมัดผัก ด้วงหนวดยาว ด้วงมะพร้าว ด้วงเต่าทอง ฯลฯ #ผลิตภัณฑ์กำจัดศัตรูพืช#ชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืช.ราคา 189 บาท ขนาด 100 กรัมราคา 349 บาท ขนาด 500 กรัม.การสั่งสินค้าและชำระเงิน โอนชำระเงินทางบัญชีธนาคาร บริการเก็บเงินปลายทาง ไม่บวกเพิ่มสามารถ แจ้งที่อยู่ เบอร์โทร และจำนวนที่ต้องการ ได้ท้้งทาง คอมเมนต์ และ อินบ็อกซ์ข้อความFacebookเลยค่ะ—————✪ ช่องทางสอบถาม/สั่งซื้อสินค้า ✪ ข้อความ : https://dlink.me/FQnO6 ไลน์ : @ifklab (มี @ ด้วยนะคะ) https://line.me/ti/p/~@ifklabShopee : https://shorturl.asia/hBz3a✆ โทร : 065-529-9099www.iFKlab.com.ผลิตและจัดจำหน่ายโดยบริษัท ไอเอฟเคแล็บ จำกัด (LAB มาตรฐาน ISO/IEC 17025)
โรคมะเขือเทศที่สาเหตุมาจากเชื้อรา โรคในมะเขือเทศ
โรคใบจุด โรคแห้งดำ โรคใบไหม้ โรคราแป้ง โรคราเขม่า.กำจัดเชื้อราสาเหตุในโรคพืชในมะเขือเทศด้วยซันไตรโคร ด้วยเชื้อคุณภาพสูงที่สุด.ราคา 189 บาท ขนาด 100 กรัมราคา 349 บาท ขนาด 500กรัม.การสั่งสินค้าและชำระเงิน โอนชำระเงินทางบัญชีธนาคาร บริการเก็บเงินปลายทาง ไม่บวกเพิ่มสามารถ แจ้งที่อยู่ เบอร์โทร และจำนวนที่ต้องการ ได้ท้้งทาง คอมเมนต์ และ อินบ็อกซ์ข้อความfacebookเลยค่ะ. ผลิตจากห้องแล็บมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ได้เชื้อที่สดใหม่ เพาะและเลี้ยงเชื้อที่คุณภาพสูงที่สุดและเชื้อมากที่สุด เพาะเชื้อด้วยวิธีที่ถูกต้อง ให้ได้เชื้อที่มีคุณภาพสูงสุด เก็บและเลี้ยงเชื้อในอุณหภูมิและแสงที่เหมาะสม ให้สารอาหารเลี้ยงเชื้อมากกว่า8เท่า—————✪ ช่องทางสอบถาม/สั่งซื้อสินค้า ✪ ข้อความ : https://dlink.me/FQnO6 ไลน์ : @ifklab (มี @ ด้วยนะคะ) https://line.me/ti/p/~@ifklabShopee : https://shorturl.asia/hBz3a✆ โทร : 065-529-9099www.iFKlab.com.ผลิตและจัดจำหน่ายโดยบริษัท ไอเอฟเคแล็บ จำกัด (LAB มาตรฐาน ISO/IEC 17025)