แมลงศัตรูพืช

แมลงศัตรูพืช

ในการทำเกษตรนั้นหนึ่งในปัญหาหลักๆที่ชาวเกษตรจะต้องได้พบคือปัญหาแมลงศัตรูพืชที่ระบาดในที่ทำการเกษตร ทำให้สมดุลของระบบนิเวศในที่เพาะปลูกเสียหาย นั่นจึงเป็นเหตุที่เกษตรกรจะต้องหมั่นสำรวจและสังเกตการเปลี่ยนแปลงของจำนวนแมลงศัตรูพืช และศัตรูธรรมชาติอื่นๆว่าอยู่ในภาวะสมดุลหรือไม่ ทั้งนี้หากสำรวจแล้วแมลงศัตรูพืชและศัตรูตามธรรมชาติสมดุลอยู่แล้ว เกษตรกรไม่ควรดำเนินการใดๆ เพราะอาจทำให้สมดุลเสียและเกิดการทำให้ประชากรศัตรูพืชระบาด เมื่อไหร่ก็ตามที่ทำให้กลไกธรรมชาติในการจัดการแมลงศัตรูพืช และศัตรูพืชไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกษตรกรก็อาจจะต้องแทรกแซงกลไกธรรมชาติเพื่อทำการกำจัดแมลงศัตรูพืช และศัตรูพืชอื่นๆด้วยตัวเอง ซึ่งวิธีก็มีมากมายทั้งเรื่องของการเลี้ยงขยายพันธุ์ศัตรูธรรมชาติ การใช้สมุนไพร หรือง่ายกว่านั้นจะเป็นในส่วนของการใช้เคมีหรือจุลินทรีย์ในการกำจัดแมลงศัตรูพืชและศัตรูพืชตามธรรมชาติอื่นๆ เรามาทำความรู้จักแมลงศัตรูพืชกันหน่อยดีกว่า แมลงศัตรูพืช คือสัตว์ที่มีลำตัวเป็นปล้อง สร้างความเสียหายแกพืชที่เพาะปลูก เป็นสัตว์ที่ลำตัวแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือศรีษะ อก และท้อง มีผนังหุ้มลำตัวที่แข็ง มีการเจริญเติบโตด้วยการอาศัยการลอกคราบ โดยแมลงก็จะมีหลายชนิดออกไปโดยจะมีการแบ่งชนิดของแมลงตามลักษณะการทำลายดังนี้ 1. แมลงจำพวกกัดกินใบ เช่น หนอน ตั๊กแตน ด้วง โดยแมลงศัตรูพืชพวกนี้มีปากแบบกัดกิน สามารถกัดกินใบทั้งหมด หรือกัดกินเฉพาะตัวใบแล้วเหลือเส้นใบไว้ ทำให้พืชไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ ขาดการสะสมอาหาร และขาดยอดอ่อนสำหรับการเจริญเติบโตต่อไป ส่งผลอย่างหนักกับพืชในเรื่องของการเจริญเติบโตจนถึงขั้นพืชตายได้ 2.แมลงจำพวกดูดกินน้ำเลี้ยง เช่น  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยแป้ง เป็นแมลงจำพวกที่มีปากแบบดูด สามารถแทงและดูดน้ำเลี้ยงจากใบ ยอดอ่อน กิ่ง ลำต้น ดอก หรือผล ทำให้พืชที่ถูกดูดกินน้ำเลี้ยงมีรอยไหม้ ใบม้วนเหี่ยว ไม่เจริญเติบโต หรือแคระแกร็น ซึ่งแมลงจำพวกนี้เป็นสาเหตุสำคัญในการถ่ายทอดและแพร่กระจายโรคพืชที่มีเชื้อไวรัสเป็นสาเหตุอีกด้วย 3.แมลงจำพวกกัดกินราก เช่น ด้วงดีด จิ้งหรีด แมลงกระชอน […]

มารู้จักเพลี้ยไฟและวิธีป้องกันกำจัด

มารู้จักเพลี้ยไฟและวิธีป้องกันกำจัด

เพลี้ยไฟ แมลงร้ายศัตรูพืช เพลี้ยไฟ เพลี้ยไฟ (Bagnall) เป็นแมลงจำพวกปากดูด ขนาดเล็กลำตัวยาว ประมาณ 1-2 มิลลิเมตร มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีสีดำ ตัวอ่อนสีเหลืองอ่อน ตัวเต็มวัยวางไข่ในเนื้อเยื่อของใบข้าว ตัวอ่อน มี 2 ระยะ ระยะเวลาตั้งแต่ตัวอ่อนถึงตัวเต็มวัยนานประมาณ 15 วัน  เพลี้ยไฟจะระบาดทำลายรุนแรงในฤดูร้อนหรือสภาพอากาศร้อนแห้งแล้ง โดยเฉพาะในระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม แต่อย่างไรก็ตามในสภาพบ้านเรา การขยายพันธุ์หรือการระบาดของเพลี้ยไฟมีได้ตลอดปี แต่อาจจะรุนแรงเป็นระยะ ๆ   ลักษณะการทำลาย วิธีการทำลายพืชของเพลี้ยไฟ เพลี้ยไฟจะใช้กรามข้างซ้าย เขี่ยเนื้อเยื้อ เซลล์พืช ก่อนจากนั้นจะใช้ปากดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้พืชตาย ส่วนของพืชที่ถูกเพลี้ยไฟทำลาย สังเกตได้ง่าย คือ จะมีอาการหงิกงอ เป็นคลื่น มีสีขาวซีด     3 วิธีป้องกันและกำจัด วิธีที่1 ต้องหมั่นสำรวจและทำความสะอาดแปลง เพื่อช่วยลดการ สะสมของแมลงศัตรูพืช และการรดน้้าโดยใช้บัวรดหรือฉีดด้วยสายยางให้น้ำเป็นฝอยโดนยอด วิธีที่2 ใช้สารสกัดจากพืช เช่น สารสะเดาสามารถช่วยลดปริมาณการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืชได้ การใช้กับดักแมลง เช่นกับดักกาวเหนียวสีเหลืองอัตรา 80-100 กับดัก/ไร่ สามารถช่วยลดปริมาณของเพลี้ยไฟ วิธีที่3 กรณีที่เริ่มมีการระบาดให้ใช้จุลินทรีย์ เชื้อบิวเวอร์เรีย […]