สารจับใบ ( Surfactant ) เป็นสารที่จะช่วยลดแรงตึงผิวของน้ำ มักจะใช้ร่วมกับปุ๋ยยา เพื่อให้ปุ๋ยยาที่มช้ฉีดใส่พืชเป็นละอองขนาดเล็กให้การจายไปทั่วต้นได้ดี ช่วยให้แห้งไว ปุ๋ยยาที่ใช้เกาะติดกับผิวใบได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ปุ๋ยยาซึมเข้าสู่ผิวได้อย่างรวดเร็ว เพิ่มประสทิธิภาพของปุ๋ยยา และยังป้องกันการอุดตันของหัวฉัด สารจับใบ มีประโยชน์อย่างมากในการเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมสารอาหารของพืช หากใช้ในปริมาณที่มากไป มันจะไปล้างเอาไขที่ผิวของพืชออก ทำให้พืชไม่มีระบบป้องกันการสูญเสียน้ำจากใบ ใบจะบาง ไม่มีไขจึงถึงขั้นเกิดผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ เช่น ใบไหม้ จึงควรใช้ในปริมาณน้อย สารจับใบ สำหรับชีวภัณฑ์นั้นจะใช้ผสมน้ำฉีดพ่นร่วมกับชีวภัณฑ์ต่างๆ เช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มา, เชื้อราบิววาเรีย, เชื้อราเมธาไรเซียม, เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส เชื้อแบคทีเรียบีที เชื้อจุลินทรีย์อื่นๆ รวงปุ๋ยทางใบทุกชนิด สารกำจัดวัชพืช และสารกำจัดศัตรูพืชทุกชนิด สารจับใบไดโนเร็กซ์! เหมาะสำหรับชาวเกษตรกรที่กำลังหาจุลินทรีย์ชีวภัณฑ์ ปลอดสารเคมีช่วยให้พืชของคุณได้รับปุ๋ยยาอย่างเต็มที่!! คุณสมบัติของสารจับใบไดโนเร็กซ์! ช่วยเปิดปากใบพืช เพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมสารอาหาร ไม่เป็นคราบตามใบ ไม่ทำลายนวลของผลพืช ปลอดภัยไร้สารเคมี ติดทน !!ติดนาน !! *ที่สำคัญ!! ทนต่อการชะล้าง ของลม และฝน มี 2 ขนาดให้เลือก – 250 ซีซี ราคา 99.- – 1 […]
มารู้จักเพลี้ยไฟและวิธีป้องกันกำจัด
เพลี้ยไฟ แมลงร้ายศัตรูพืช เพลี้ยไฟ เพลี้ยไฟ (Bagnall) เป็นแมลงจำพวกปากดูด ขนาดเล็กลำตัวยาว ประมาณ 1-2 มิลลิเมตร มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีสีดำ ตัวอ่อนสีเหลืองอ่อน ตัวเต็มวัยวางไข่ในเนื้อเยื่อของใบข้าว ตัวอ่อน มี 2 ระยะ ระยะเวลาตั้งแต่ตัวอ่อนถึงตัวเต็มวัยนานประมาณ 15 วัน เพลี้ยไฟจะระบาดทำลายรุนแรงในฤดูร้อนหรือสภาพอากาศร้อนแห้งแล้ง โดยเฉพาะในระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม แต่อย่างไรก็ตามในสภาพบ้านเรา การขยายพันธุ์หรือการระบาดของเพลี้ยไฟมีได้ตลอดปี แต่อาจจะรุนแรงเป็นระยะ ๆ ลักษณะการทำลาย วิธีการทำลายพืชของเพลี้ยไฟ เพลี้ยไฟจะใช้กรามข้างซ้าย เขี่ยเนื้อเยื้อ เซลล์พืช ก่อนจากนั้นจะใช้ปากดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้พืชตาย ส่วนของพืชที่ถูกเพลี้ยไฟทำลาย สังเกตได้ง่าย คือ จะมีอาการหงิกงอ เป็นคลื่น มีสีขาวซีด 3 วิธีป้องกันและกำจัด วิธีที่1 ต้องหมั่นสำรวจและทำความสะอาดแปลง เพื่อช่วยลดการ สะสมของแมลงศัตรูพืช และการรดน้้าโดยใช้บัวรดหรือฉีดด้วยสายยางให้น้ำเป็นฝอยโดนยอด วิธีที่2 ใช้สารสกัดจากพืช เช่น สารสะเดาสามารถช่วยลดปริมาณการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืชได้ การใช้กับดักแมลง เช่นกับดักกาวเหนียวสีเหลืองอัตรา 80-100 กับดัก/ไร่ สามารถช่วยลดปริมาณของเพลี้ยไฟ วิธีที่3 กรณีที่เริ่มมีการระบาดให้ใช้จุลินทรีย์ เชื้อบิวเวอร์เรีย […]
ตัวแทนจำหน่าย อาชีพยอดฮิตเสริมสร้างรายได้!
ในปัจจุบันที่ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น แต่รายได้ที่เรามีนั้นยังเท่าเดิมทำให้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายของคนในยุคปัจจุบัน ทำให้หลายๆคนเลือกที่จะออกมาหารายได้เสริมกันมากมายไม่ว่าจะหางานพาร์ทไทม์ รับจ้างพิเศษ ปลูกผักขาย ขายอาหาร ขับรถส่งอาหาร แต่อาชีพเสริมที่เป็นที่นิยมที่สุดในขณะนี้หรือบางคนเลือกทำเป็นงานประจำก็คือการ “ขายสินค้าออนไลน์ ” ซึ่งแต่ละงานก็เป็นงานที่ส่งผลดีในการเพิ่มรายได้ทั้งหมด แต่ยังมีอีกช่องทางนึงที่จะสามารถทำให้คนที่สนใจอยาก “ขายสินค้าออนไลน์” สามารถขายสินค้าได้โดยใช้เงินลงทุนเพียงไม่กี่บาท ไม่ต้องสต๊อกสินค้า ไม่ต้องแพ็คสินค้าและจัดส่งด้วยตัวเอง ช่วยอำนวยความสะดวกให้อย่างมาก นั่นก็คือการเป็น “ ตัวแทนจำหน่าย” ซึ่งเราสามารถเลือกรูปแบบการเป็นตัวแทนจำหน่ายได้ว่าจะสต๊อกสินค้าไปขายสำหรับคนมีหน้าร้านหรือจะเลือกไม่สต๊อกสินค้าแต่จะส่งออเดอร์มาให้บริษัททางบริษัทก็จะทำการจัดส่งสินค้าให้ โดยตัวแทนก็จะได้รับกำไรไปเต็มๆในทุกๆออเดอร์ อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นถึงตัวแทนจำหน่ายที่มี 2 ประเภทให้เลือกตามความสะดวกของแต่ละคน ตัวแทนจำหน่ายแบบสตีอกสินค้า เป็นตัวแทนประเภทที่มีสินค้าอยู่ในมือจากการซื้อสินค้าราคาต้นทุนกับบริษัทมาสต๊อกไว้ที่หน้าร้านของตนเองเพื่อขาย เป็นการซื้อขาดโดยตัวแทนจำต้องซื้อสินค้าขั้นต่ำตามที่บริษัทกำหนด และนำสินค้านั้นไปขายโดยบวกกำไรจากการขายปลีก ข้อดี สะดวกในการขายมีสินค้าให้ลูกค้าทันที ได้กำไรที่เยอะเนื่องจากได้สินค้ามาในราคาต้นทุน มีส่วนลดเยอะกว่า เนื่องจากซื้อคราวละเยอะๆ ข้อเสีย ต้องใช้ต้นทุนในการสต๊อกสูง ต้องมีสถานที่สต๊อกสินค้า ต้องแพ็คส่งสินค้าเองกรณีต้องส่งสินค้าให้ลูกค้า มีความเสี่ยงที่สินค้าจะขายไม่ออก ตัวแทนจำหน่ายแบบไม่สต๊อกสินค้า เป็นตัวแทนที่ไม่ได้มีสินค้าอยู่ในมือ มีหน้าที่ทำการโพสขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ และนำออเดอร์ที่ได้ พร้อมโอนค่าสินค้า ( ราคาต้นทุน+ค่าส่ง ) ให้บริษัทเพื่อที่บริษัทจะได้ทำการแพ็คสินค้าและส่งให้ลูกค้าในนามตัวแทนจำหน่าย ข้อดี ใช้ต้นทุนน้อยไม่มีต้นทุนในการสต๊อก ไม่ต้องแพ็คส่งสินค้าเอง ความเสี่ยงในการขายน้อย ข้อเสีย กำไรในการขายแต่ละชิ้นไม่สูงเท่าแบบสต๊อกสินค้า ต้องใช้เวลาในการส่งสินค้าให้ลูกค้า ซึ่งตัวแทนแต่ละประเภทก็จะมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไปแต่ความเสี่ยงก็น้อยกว่าการลงทุนเป็นเจ้าของกิจการด้วยตัวเอง ด้วยทั้งหมดที่กล่าวมานี้ทำให้ […]
ทำไมตัวแทนจำหน่ายจึงเป็นที่นิยม?
สมัยนี้การ “ขายสินค้าออนไลน์” ถือว่าเป็นที่นิยมกันเป็นอย่างมากเนื่องจากง่ายและสะดวกต่อการเข้าถึงเหล่าลูกค้า การโปรโมททำให้ร้านของเราเป็นที่รู้จัก แถมยังไม่มีต้นทุนในด้านของการเช่าพื้นที่เพื่อทำหน้าร้านไว้จำหน่ายสินค้า เพราะเราสามารถมีหน้าร้านช่องทางออนไลน์ที่ทำได้ไม่มีค่าใช้จ่าย จะเสียก็แค่ค่าโปรโมทโฆษณา ค่าสต๊อกสินค้าและวัสดุแพ็คสินค้ารวมถึงค่าส่งเท่านั้น ทำให้หลายๆคนหันมาทำธุรกิจ “ขายสินค้าออนไลน์” กันเองมากขึ้น แต่ถึงกระนั้นการทำร้าน “ขายสินค้าออนไลน์” ด้วยตนเองก็ยังมีค่าใช้จ่ายพอสมควรไม่ว่าจะค่าสต๊อกสินค้า ค่าแพ็คส่งสินค้า หรือสำหรับบางคนที่ผลิตสินค้าเองด้วยแล้วก็ยิ่งมีค่าผลิตสินค้า ค่าโปรโมทแบรนด์ เพิ่มขึ้นมาอีก จึงทำให้สำหรับคนที่มีเงินลงทุนน้อยนั้นเข้าถึงได้ไม่มากเท่าคนที่มีเงินทุนมากกว่า แต่มีอีกอาชีพหนึ่งที่สามารถตอบโจทย์คนที่อยาก “ขายสินค้าออนไลน์” ด้วยการเปิดหน้าร้านของตนเอง โดยไม่ต้องมีเงินลงทุนเยอะนั่นก็คือ “ตัวแทนจำหน่าย” บริษัทหลายบริษัทนั้นรับสมัคร “ตัวแทนจำหน่าย” เพื่อให้ตัวเองได้ยอดขายที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ที่มีเงินลงทุนน้อยแต่อยากทำธุรกิจเป็นของตัวเอง เป็นการได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือ Win to Win ที่บริษัทได้ยอดขายเพิ่ม ส่วนตัวแทนก็สามารถขายสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐานโดยที่ไม่เสียค่าผลิต ค่าสต๊อกสินค้า ค่าแพ็ครวมถึงค่าส่งสินค้า และนอกจากนี้ยังไม่ต้องรับความเสี่ยงในตัวแบรนด์สินค้าอีกด้วย ทำให้ในปัจจุบันระบบตัวแทนจำหน่ายจึงเป็นที่นิยมเป็นอย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการทำธุรกิจออนไลน์เป็นของตนเองแต่มีเงินลงทุนน้อยและไม่อยากรับความเสี่ยง “บริษัทไอเอฟเคแล็บ” บริษัทรับจ้างผลิตปุ๋ย และขายสินค้าจุลินทรีย์ชีวภัณฑ์ ภายใต้แบรนด์ เจ้าทิพย์และไดโนเร็กซ์ ได้ทำการเปิดโอกาสรับสมัคร “ตัวแทนจำหน่าย” ให้ผู้ที่มีเงินลงทุนน้อยแต่สนใจอยากทำธุรกิจขายออนไลน์เจาะกลุ่มลูกค้าเกษตรกรด้วยสินค้าคุณภาพได้มาตราฐานของ “ไอเอฟเคแล็บ” “ตัวแทนจำหน่าย” สามารถเลือกได้ว่าจะสต๊อกสินค้าไว้ขายหน้าร้านหรือ ไม่สตีอกสินค้าขายสินค้าผ่านหน้าร้านออนไลน์ของตนเองเมื่อได้ออเดอร์แล้วนำออเดอร์พร้อมยอด (ราคาต้นทุน+ค่าส่ง) มาให้บริษัททางบริษัทก็จะทำการส่งสินค้าให้ในนามตัวแทน โดยตัวแทนจำหน่ายก็จะได้กำไรจากการขาย ไม่มีค่าใช้จ่ายในการผลิต ไม่ต้องมีค่าเช่าหน้าร้านขายผ่านออนไลน์ ไม่ต้องมีค่าสต๊อกสินค้า ไม่ต้องมีค่าแพ็คและส่งสินค้า […]
โรคเชื้อราพืชฤดูฝน EP.2
เชื้อราในพืช ถือว่าเป็นสา เหตุหลักของการเกิดโรคในพืชที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นโรคที่สามารถสร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรได้ค่อนข้างมาก เนื่องจากการระบาดมักมาพร้อมกับดิน ลม ฝน น้ำ และวัชพืชอยู่ตลอดทั้งปี เป็นโรคที่พืชเเสดงอาการผิดปกติออกมา โดยบริเวณพืชที่เกิดโรคหรือแสดงอาการของโรค มักจะมีสัญลักษณ์ของเชื้อรา เช่น เส้นใย สปอร์ เกิดขึ้น เป็นโรคที่สร้างผลกระทบและความเสียหายให้กับเกษตรกรได้ในวงกว้าง จากคราวที่แล้วเรามาดูกันต่อดีกว่าว่าโรคเชื้อราพืชที่เกิดในฤดูฝนจนทำให้เกษตรกรหลายคนกลุ้มใจยังมีโรคอะไรอีกบ้าง โรคขอบใบแห้ง เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซานโทโมนาส ( Xanthomonas oryzae pv. oryzae (ex Ishiyama) Swings et al ) พบมากในนาน้ำฝน อาการโรคนี้เป็นได้ตั้งแต่ระยะต้นกล้าจะมีจุดช้ำเล็กๆที่ขอบใบของใบล่าง และจะขายากลายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบข้าว ใบที่เป็นโรคจะแห้งเร็ว ส่วนสีเขียวจะจางลงเป็นสีเทา จนกระทั่งใบที่ขอบมีรอยขีดช้ำและเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เป็นโรคที่สามารถระบาดต่อได้ทางน้ำ และสภาพที่มีฝนตก โรคราดำ เกิดจากเชื้อราหลายๆชนิด เชื้อราหลายชนิด ที่พบบ่อยๆ เช่น เชื้อรา แคปโนเดี่ยม ( Capnodium sp. และ Meliola sp. ) จะทำให้พืชผักของเรา มีลักษณะเป็นผงสีดำขึ้นปกคลุมส่วนต่างๆของพืช เช่น กิ่ง ช่อดอก ดอก […]
โรคเชื้อราพืชฤดูฝน EP.1
เชื้อราในพืช ถือว่าเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคในพืชที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นโรคที่สามารถสร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรได้ค่อนข้างมาก เนื่องจากการระบาดมักมาพร้อมกับดิน ลม ฝน น้ำ และวัชพืชอยู่ตลอดทั้งปี เป็นโรคที่พืชเเสดงอาการผิดปกติออกมา โดยบริเวณพืชที่เกิดโรคหรือแสดงอาการของโรค มักจะมีสัญลักษณ์ของเชื้อรา เช่น เส้นใย สปอร์ เกิดขึ้น เป็นโรคที่สร้างผลกระทบและความเสียหายให้กับเกษตรกรได้ในวงกว้าง เรามาดูกันดีกว่าว่าโรคเชื้อราพืชที่เกิดในฤดูฝนจนทำให้เกษตรกรหลายคนกลุ้มใจมีอะไรบ้าง โรคเน่าคอดิน เป็นโรคที่ เกิดจากเชื้อราพิเทียม (Pythium) และเชื้อรา ไรซอกโทเนีย (Rhizoctonia) ที่ติดมากับเมล็ด หรือในดินที่ปลูก ซึ่งเกิดเฉพาะในแปลงต้นกล้า โดยอาการของโรคจะเป็นแผลที่โคนต้นระดับดิน แผลมีความเน่าแห้งตายได้ในเวลาอันรวดเร็ว เป็นโรคที่อันตรายต่อน้องๆพืชผักที่เราปลูกค่อนข้างสูง โรคใบจุด เป็นโรคที่ เกิดจากเชื้อรา ( Phyllostictina pyriformis ) ในต้นกล้าจะพบจุดแผลเล็กๆ สีน้ำตาลบริเวณใบโคนต้น และมีแผลเป็นวงกลมสีน้ำตาลซ้อนกันตรงใบสำหรับต้นที่โตแล้ว เนื้อเยื่อรอบๆแผลจะเป็นสีเหลืองและมักมีเชื้อราสีดำๆอยู่บนแผล ซึ่งหากไม่รีบทำลายต้นที่ติดเชื้อทิ้งสปอร์ของเชื้อที่ปลิวไปตามน้ำ ลม แมลง จะไปติดต้นอื่นทำให้ต้นอื่นติดเชื้อได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อน้องๆพืชผักของเราอย่างมาก โรคราสนิมขาวในผัก เป็นอีกหนึ่งโรคที่เกิดจากเชื้อรา อัลบูโก ( Albugo ipomoea-aquaticae Sawada ) อาการของน้องพืชผัก จะเริ่มจากการเกิดเป็นตุ่มเล็กๆ โป่งพองนูนจากผิวปกติก่อน ต่อมาชั้นของเซลล์ epidermis ตรงจุดดังกล่าวจะเปิดแตกออกเกิดเป็นแผลลักษณะเป็นผงหรือกระจุกสีขาวคล้ายแป้งหรือฝุ่นชอล์ก […]
ไตรโคเร็กซ์ แบบผงผสมน้ำ ป้องกันโรคอะไรได้บ้าง !!!
แก้ใบเหลือง รากเน่า โคนเน่า แก้ปัญหาเชื้อราไฟท้อปเธอร่าในทุเรียน แก้ปัญหาโรคแคงเกอร์ในส้ม – มะนาว แก้ปัญหาโรครากเน่า-โคนเน่าในพริกไทย แก้ปัญหาโรคแอนแทรกโนสใน มะละกอ แตงโม แตงกวา แก้ปัญหาโรคใบจุด ใบแห้งในแตงโม แตงกวา แก้ปัญหาโรคกาบใบเน่า โรคกาบใบแห้ง โรคไหม้ในข้าว แก้ปัญหาโรคกุ้งแห้งในพริก แก้ปัญหาโรคทลายปาล์มเน่า • ขนาด 100 กรัม ราคา 89 บาท ขนาด 500 กรัม ราคา 180 บาท #มีบริการเก็บเงินปลายทาง #คุณภาพดีเกินราคา • การใช้งาน ฉีดช่วงเวลาแดดอ่อนๆ หรือหลัง 16.00 น. เป็นต้นไป ฉีด ใบ กิ่ง ก้าน ลำต้น และโคนต้น แนะนำฉีดต่อเนื่อง 5-7 วัน • ✪ ช่องทางสอบถาม/สั่งซื้อสินค้า ✪ ข้อความ : https://dlink.me/eQyXb ไลน์ : […]
ยืu❶ ชีวภัณฑ์กำจัดเพลี้ยและแมลงศัตรูพืช “การันตี ยoดขาย อัuดับ1” ลูกค้าติดใจกลับมาซื้oซ้ำ #บอกต่ออย่างต่อเนื่oง
◜บิวทาเร็กซ์ #กำจัดเพลี้ยและแมลงศัตรูพืช◝ ขนาด 100 กรัม ราคา 89 บาท ขนาด 500 กรัม ราคา 180 บาท #มีบริการเก็บเงินปลายทาง #คุณภาพดีเกินราคา • การใช้งาน ฉีดช่วงเวลาแดดอ่อนๆ หรือหลัง 16.00 น. เป็นต้นไป ฉีด ใบ กิ่ง ก้าน ลำต้น และโคนต้น แนะนำฉีดต่อเนื่อง 5-7 วัน • ✪ ช่องทางสอบถาม/สั่งซื้อสินค้า ✪ ข้อความ : https://dlink.me/eQyXb ไลน์ : @ifklab (มี @ ด้วยนะคะ) https://line.me/ti/p/~@ifklab Shopee : https://shorturl.asia/hBz3a Lazada : https://dlink.me/4w3GZ ✆ โทร : 065-529-9099 www.iFKlab.com • ผลิตและจัดจำหน่ายโดย บริษัท […]
โรคข้าวโพด โรคพืชที่เกิดใน้ข้าวโพด
ข้าวโพดที่เรารับประทานกันนั้น ไม่ว่าจะเป็นข้าวโพดหวานข้าวโพดข้าวเหนียว ที่รสชาติอาจต่างกันออกไป แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ การเจริญเติบโตที่ต้องผ่านการดูแลที่ต้องดีเหมือนกัน ทั้งดูแลจากแมลง และโรคพืชต่างๆ ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักโรคในข้าวโพด รวมไปถึงลักษณะของโรคนั้นๆกัน โรคใบจุด โรคใบจุดมักเกิดในช่วงฤดูแล้ง สามารถเข้าทำลายข้าวโพดได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตในทุกๆส่วนของข้าวโพด โดยอาการใบจะเป็นจุดสีเหลืองถึงสีน้ำตาลเข้ม ขนาดเล็ก มีวงสีเหลืองรอบๆ เมื่อมีอาการหนักอาจทำให้ใบไหม้ได้ โรคใบจุดสีน้ำตาล สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในบริเวณเส้นกลางใบ ลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลเข้ม หลังจากเชื้อเข้าทำลายจะทำให้ใบหัก หรือ เกิดเป็นแผลบนใบเป็นสีน้ำตาลเข้ม จุดติดๆกันอาจทำให้ใบไหม้ นอกจากนี้อาจเห็นที่ลำต้น กาบใบ เปลือกหุ้มฝัก และช่อดอก อาการจะยิ่งหนักในช่วงออกดอก ทำให้ผลผลิตน้อยลง โรคราสนิม สร้างความเสียหายต่อผลผลิตข้าวโพดที่ปลูกอย่างต่อเนื่อง จะทำลายข้าวโพดในระยะออกดอก ระบาดรุนแรงในช่วงปลายฝน ลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลแดง ค่อนข้างกลม นูนจากผิว เมื่อโตเต็มที่กลางแผลจะปริออก และเป็นสีน้ำตาลส้มคล้ายสนิม ใบข้าวโพดที่เกิดแผลมากขึ้นจะเหลืองและแห้งในที่สุด โรคราน้ำค้าง ลักษณะอาการเป็นแถบยาวสีเหลืองไปตามความยาวของใบ หรือเป็นทางลายสีเขียวแก่ เขียวอ่อน สีเหลือง สลับเป็นทางยาว เมื่ออาการหนักรอยจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลจนเกิดอาการใบไหม้ แห้งตายในที่สุด โดยสามารถเกิดกับข้าวโพดตั้งแต่งอกจนถึงอายุประมาณ1เดือน ในช่วงที่มีฝนตกชุก โรคลำต้นเน่า แบ่งเป็น 2 ลักษณะ – ทำลายทั้งต้นอ่อน ต้นแก่ และฝัก จะเห็นเส้นใยสีขาวเน่าไปทั้งฝัก ที่ลำต้นหลังเชื้อเข้าทำลาย ต้นจะเหี่ยว […]
ศัตรูพืช แมลงปากกัดและปากดูด ทำลายผลผลิตการเกษตร
ชีวภัณฑ์กำจัดแมลง เชื้อแรงที่สุด เชื้อสูงกว่า 8 เท่า ผลิตจากห้องแล็บมาตรฐาน . แมลง อีก 1 ปัญหาของชาวเกษตรกรหลายคนในการการปลูกพืช แมลงหลายชนิดสร้างความเสียหายต่อผลผลิตเป็นอย่างมาก ทั้งการเจริญเติบโตและคุณภาพของพืช แมลงจะแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ . 1. แมลงปากกัด ได้แก่ หนอนกระทู้ใบผัก ตั๊กแตน ด้วงปีกแข็ง ด้วงหมัดผัก แมลงค่อมทอง คืบ ด้วงเต่าแตง เป็นต้น สามารถกัดกินใบได้ทั้งหมด หรือ เหลือเส้นใบทิ้งไว้ ทำให้ใบแหว่ง ขาด เหลือแต่ก้านหรือเส้นใบ ส่งผลให้พืชขาดส่วนที่ใช้สังเคราะห์แสง ขาดที่กักเก็บอาหาร และขาดยอดอ่อนที่เป็นส่วนสำหรับการเจริญเติบโต . 2. แมลงปากดูด ได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดด เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น แมลงหวี่ขาว ไรแดง เป็นต้น สามารถแทงและดูดน้ำเลี้ยงจากใบ ยอดอ่อน กิ่ง ลำต้น ดอก และ ผล ส่งผลให้ ส่วนต่างๆของพืชเกิดรอยไหม้ ใบม้วนเหี่ยว ไม่เจริญเติบโต […]